วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กลุ่มอุตสาหกรรมผ้าทอ ตลาดผ้าบ้านนาข่า

ความเป็นมา รมช.กระทรวงอุตสาหกรรม(นายปิยบุตร ชลวิจารณ์) มอบแนวคิดการพัฒนา OTOP ที่ตลาดผ้านาข่า ต.นาข่า อ.เมือง จ.อุดรธานี และภาคอีสาน ได้ให้นโยบายในการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ผ้าในรูปแบบ (Cluster) ซึ่งปัจจุบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและยกระดับแนวทางการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริหารจัดการ โดยสร้างเครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรม หรือ คลัสเตอร์ (Cluster) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Industrial Cluster Development)เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานหลักในการเป็นผู้ผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้วยการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ และพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม โดยคัดเลือกจังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนา ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อจากยุทธศาสตร์ภาคการส่งเสริมสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านผลิตภาพ (Productivity) ของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยสร้างปัจจัยสนับสนุนและสภาพแวดล้อม (Enabling) และพัฒนาการบริหารจัดการในแนวทางคลัสเตอร์ เพื่อให้เกิดเครือข่ายคลัสเอตร์ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และเพื่อสร้างการเชื่อมโยงการผลิต การค้า และ Logistic ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อเป็นตัวอย่างในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม รวมทั้งเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในด้านการตลาดและการผลิต รวมถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ตอบสนองตรงตามความต้องการของตลาด
วัตถุประสงค์โครงการ
  • เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาคลัสเตอร์เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
  • เพื่อพัฒนาให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ (ผ้าทอพื้นเมือง)ในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและการดำเนินการของคลัสเตอร์ที่มี การกำหนดทิศทางเป้าหมายและกลยุทธ์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจที่ชัดเจน
  • เพื่อพัฒนาให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม โดยการหาแนวทางร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านการตลาด การผลิตและบุคลากร
  • เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้วิสาหกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ลักษณะพื้นฐาน
  • สมาชิกหลักประกอบด้วยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 20 ราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น