วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาตลาดผ้าบ้านนาข่า

ความเป็นมาของตลาดผ้านาข่า
การจัดตั้ง
                บ้านนาข่า ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ทางทิศเหนือของจังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัด ๑๖ กิโลเมตร ตามเส้นทางอุดรธานี หนองคาย ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าหมี่ขิดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุดรธานี บ้านนาข่าได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ และหมู่บ้าน OTOP ท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี เนื่องจากมีกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ตามแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของบ้านนาข่าและยังได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยเหมาะกับโอกาสในการใช้งานต่าง ๆ อย่างดีด้วยเมื่อเดินทางมาถึงจังหวัด อุดรธานีเมืองที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยอาริยะธรรมยาวนานกว่า๕,000 ปี ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายที่น่าศึกษาและเยี่ยมชมความงดงาม  และหากจะกล่าวถึงของฝากหนึ่งในนั้นคงต้องมี ผ้าหมี่ขิดที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของชาวจังหวัดอุดรธานี

ในปี ๒๕๓๔๒๕๓๕ จังหวัดอุดรธานี ได้จัดทำโครงการทอผ้าหมี่ขิดยาวที่สุดในโลก โดยการร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มชาวบ้าน จำนวน ๑๕๐ กลุ่ม ซึ่งผ้าผืนดังกล่าวมีความยาว ๑๑๙๙ เมตร ความกว้าง ๖๐เซนติเมตร วัตถุประสงค์ของการทอ เพื่อประชาสัมพันธ์คำขวัญของจังหวัดอุดรธานี ธานีผ้าหมี่ขิด


ตลาดผ้าบ้านนาข่า เป็นการรวมกลุ่มทอผ้าซึ่งกลุ่มนี้ทอผ้าบ้านนาข่า เป็นกลุ่มที่ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลานานแล้ว จนมีการบริหารจัดการได้ในเชิงธุรกิจ จากกลุ่มใหญ่แยกมาเป็นกลุ่มย่อย ในส่วนของอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนญาติพี่น้องแล้วจะส่งมาจำหน่ายที่ร้านของประธาน โดยจะมี
เครือข่ายในสิ่งทอตามหมู่บ้านในตำบลนาข่า และหมู่บ้านใกล้เคียงตลอดจนตำบลใกล้เคียง
หมู่บ้านนาข่า อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๖กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย อย่างที่ผมได้บอกไป


เพราะ อุดรธานีเมืองที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยอารยธรรมยาวนานกว่า 5,000 ปี ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายที่น่าศึกษาและเยี่ยมชมความงดงาม และหากจะกล่าวถึงของฝากหนึ่งในนั้นคงต้องมี ผ้าหมี่ขิดที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของชาวจังหวัดอุดรธานี ถ้าใครอยากจะหาผ้าสวยๆ ติดไม้ติดมือไปเป็นของขวัญของฝากญาติผู้ใหญ่แล้วล่ะก็ ที่ตลาดผ้านาข่าแห่งนี้ เป็นตัวเลือกที่แจ่มว้าวมากๆ




ในตลาดผ้านาข่าก็จะมีร้านรวงมากมาย ขายผ้าหมี่ขิด หรือ ผ้าไหมลายขิด ซึ่งแต่ละผืนผ่านการทอเก็บขิด ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรูปแบบที่สวยงาม มีความมัน วาว นูน เป็นเอกลักษณ์ของผ้าอีสาน และนอกจากผืนผ้าแล้ว แต่ละร้านก็ยังนำเสนอออกมาเป็นผลิตภัณฑ์อย่าง เสื้อ กางเกง กระโปรง ผ้าพันคอ หมอนอิง ของที่ระลึก และอีกสารพัดสิ่ง ด้วยลายผ้าสวยๆ ทั้งนั้น



นอกจากตลาดแล้ว อีกแหล่งหนึ่งที่นักเดินทางไม่เคยพลาดเห็นจะเป็นชุมชนบ้านนาข่า ที่นี่เป็นสถานที่ผลิตผ้าไหมและตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยชาวบ้านนาข่า ให้นักเดินทางทั้งหลายได้แวะชมความประณีต ของหัตถศิลป์ฝีมือคนอุดรฯ บ้านเฮา



ทอผ้าไหมลายขิด คือ การทอผ้าไหมที่ทอแบบ "เก็บขิด" หรือ "เก็บดอก" เหมือนผ้าที่มีการปักดอกการทอผ้าดอกนี้ชาวอีสานเรียกกันว่า " การทอผ้าเก็บขิด" ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรูปแบบที่สวยงาม มีความมัน วาว นูน และมีเหลือบ มีชื่อเรียกคล้ายกัน หรืออาจแตกต่างกันไป

ร้านค้าในตลาดผ้าบ้านาข่า





ร้านลาวัลย์ผ้าไหม


รูปร่างลักษณะของสินค้าเป็นผ้าไหมซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากผ้าไหมทั่วไป กล่าวคือ มีแสงแวววาวเป็นมันเลื่อม เนื้อผ้าฟูไม่เรียบ อ่อนนุ่ม มีน้ำหนัก บางชนิดเป็นปุ่มปมอันเนื่องมาจากระดับคุณภาพซึ่งเกิดในกระบวนการผลิตแต่ก็ทำให้ได้รับความนิยมของคนบางกลุ่มเพราะดูแล้วมีความแปลกตา 



ร้านชาเรือน



รูปลักษณะของสินค้าเป็นผ้าไหมชึ่งผลิตจากวัตถุดิบ เส้นไหม กระบวนการผลิตแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอย่างแท้จริงและใช้เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านเป็นทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน เส้นไหมจะต้องสาวเส้นด้วยมือผ่านพวงสาวลงภาชนะ การทอด้วยกี่ทอมือแบบพื้นบ้านชนิดพุ่งกระสวยด้วยมือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม



ร้านแม่จันดีผ้าไหม



รูปลักษณะของสินค้า เป็นผ้าไหมซึ่งผลิตขึ้นแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านผสมผสานกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือและกระบวนการผลิตในบางขั้นตอน ใช้เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านหรือที่ได้รับการปรับปรุงจากพันธุ์ไทยเป็นเส้นพุ่งหรือเส้นยืน เส้นไหมต้องผ่านการสาวด้วยมือ



ร้านเปรี้ยวผ้าไหม


รูปลักษณะของสินค้าในร้าน เป็นผ้าไหมซึ่งผ่านกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาไทย เช่น ลวดลาย สีสัน ใช้เส้นใยไหมแท้กับเส้นใยอื่นที่มาจากวัสดุธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน หรือตามความต้องการของผู้บริโภค เส้นไหมแท้เป็นองค์ประกอบหลัก มีเส้นใยอื่นเป็นส่วนประกอบรอง สัดส่วนการใช้เส้นใยชนิดอื่นประกอบต้องระบุให้ชัดเจน ทอด้วยกี่ชนิดใดก็ได้ ย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องผลิตในประเทศไทย



ร้านลำไพผ้าไหม


รูปลักษณะของร้าน มีเสื้อที่ทำจากไหมและกระโปงหรือกางเกงมีหลายอย่างหลายแนวให้เลือกกันเลย




ร้านพิมพ์จันทร์ผ้าไหม


รูปลักษณะของสินค้าในร้าน เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช่เส้นยืนและเส้นพุ่งธรรมดาสีเดียวตลอดทั้งผืน หรืออาจใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งต่างสีกัน ซึ่งทำให้ได้สีที่งดงามอีกแบบหนึ่ง
  



ร้านนกน้อยของฝาก


รูปลักษณะของสินค้า จะมีกระเป่าหรือหม่อนผ้าพันคอหรือเครื่องกิ๊ฟช๊อปต่างๆ



ร้านแม่เพ็ญผ้าไหม
 


รูปลักษณะของสินค้าเป็นผ้าไหมที่ทำให้เกิดลวดลายด้วยวิธีการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืน หรือทั้งสองเส้น แล้วนำไปย้อมสีทีละชั้นตอนตามลวดลายที่มัดไว้เพื่อให้ได้สีและลวดลายตามความต้องการ แล้วจึงนำเส้นไหมที่มัดมาทอให้ผืนผ้าเกิดลวดลายตามที่มัดไว้ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน เช่น ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด



                                                           ร้านประนอมผ้าไหม





รูปลักษณะของร้าน ไม่ว่าจะเป็นผ้าพันคอหรือกระโป่งสวยๆหลากหลายในร้านของเราก็จะมีการตัดเป็นชุดสวยๆหลายแนวหลายอย่าง





วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กลุ่มอุตสาหกรรมผ้าทอ ตลาดผ้าบ้านนาข่า

ความเป็นมา รมช.กระทรวงอุตสาหกรรม(นายปิยบุตร ชลวิจารณ์) มอบแนวคิดการพัฒนา OTOP ที่ตลาดผ้านาข่า ต.นาข่า อ.เมือง จ.อุดรธานี และภาคอีสาน ได้ให้นโยบายในการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ผ้าในรูปแบบ (Cluster) ซึ่งปัจจุบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและยกระดับแนวทางการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริหารจัดการ โดยสร้างเครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรม หรือ คลัสเตอร์ (Cluster) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Industrial Cluster Development)เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานหลักในการเป็นผู้ผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้วยการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ และพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม โดยคัดเลือกจังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนา ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อจากยุทธศาสตร์ภาคการส่งเสริมสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านผลิตภาพ (Productivity) ของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยสร้างปัจจัยสนับสนุนและสภาพแวดล้อม (Enabling) และพัฒนาการบริหารจัดการในแนวทางคลัสเตอร์ เพื่อให้เกิดเครือข่ายคลัสเอตร์ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และเพื่อสร้างการเชื่อมโยงการผลิต การค้า และ Logistic ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อเป็นตัวอย่างในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม รวมทั้งเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในด้านการตลาดและการผลิต รวมถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ตอบสนองตรงตามความต้องการของตลาด
วัตถุประสงค์โครงการ
  • เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาคลัสเตอร์เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
  • เพื่อพัฒนาให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ (ผ้าทอพื้นเมือง)ในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและการดำเนินการของคลัสเตอร์ที่มี การกำหนดทิศทางเป้าหมายและกลยุทธ์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจที่ชัดเจน
  • เพื่อพัฒนาให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม โดยการหาแนวทางร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านการตลาด การผลิตและบุคลากร
  • เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้วิสาหกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ลักษณะพื้นฐาน
  • สมาชิกหลักประกอบด้วยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 20 ราย

วิถีชุมชนคนทอผ้า


หมู่บ้านนาข่า จ.อุดรธานี เดิมเป็นชุมชนเล็กๆ ริมถนนมิตรภาพสายอุดรธานี–หนองคาย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา ซึ่งเป็นอาชีพที่ปีหนึ่งทำได้หนเดียว เพราะไม่มีน้ำชลประทาน พอหมดฤดูทำนา ชาวบ้านก็จะหาอาชีพเสริม ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือการทอผ้า เพราะเป็นอาชีพที่สืบทอดต่อๆ กันมา สมัยก่อนทุกบ้านจะมีการปลูกต้นหม่อนเลี้ยงไหมไว้ทุกหลังคาเรือน เมื่อว่างเว้นจากการทำนาก็จะพากันทอผ้า เดิมทีชาวบ้านจะทอผ้าเก็บไว้ หรือบ้างก็นำมาตัดเย็บเป็นชุดเพื่อใส่ในงานสำคัญเช่น งานบุญประจำปี บ้างก็เก็บไว้ขายสร้างรายได้เสริม
จากวิถีผ้าทอระดับรากหญ้า ... สู่การเป็นตลาดผ้าที่ยิ่งใหญ่และมีมูลค่ามหาศาลของเมืองอีสาน
การทอผ้าของชาวบ้านนาข่า ก็ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนปี 2537 เริ่มมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านมาที่จังหวัดอุดรธานีกันมาขึ้น จึงได้มีชาวบ้านนำสินค้าชุมชนออกมาเดินเร่ขายตามริมถนน เพื่อให้นักท่องเที่ยวแวะมาซื้อสินค้าพื้นเมืองจากชาวบ้าน ซึ่งสินค้าจำพวกผ้าทอต่างๆ ได้รับการตอบรับดีมาก มีนักท่องเที่ยวเหมาผ้าทั้งหมดจนมีการบอกต่อปากต่อปากถึงความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ชาวบ้านจึงมีการรวมกลุ่มหัตถกรรมผ้าพื้นบ้าน บ้านนาข่า ขึ้น และสร้างเป็นตลาดผ้าบ้านนาข่าตั้งแต่ปี 2544 จนกระทั่งปัจจุบันมีระบบบริหารจัดการที่เป็นระบบ



ติดกับตลาดผ้าบ้านนาข่าจะมี “วัดนาคาเทวี” ถือเป็นแหล่งรวมใจของชาวบ้านนาข่า โดยพระพุทธศรีรัตนมหามงคลนาคาเทวี ตั้งประดิษฐานไว้อย่างโดดเด่นเพื่อกราบสัการะบูชาและในทุกปี ทางวัดก็จะรวมใจชาวบ้านจัดงานกฐินลอยฟ้าถวายแด่องค์พระศรีรัตมหามงคลนาคาเทวี ด้วยการนำเงินผูกชักลอก ขึ้นไปถวายองค์พระบนฟ้าเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย นอกจากนั้นภายในโบสถ์ยังมีการจัดแสดง กระดูกมนุษย์โบราณทั้งชายและหญิงรวมถึงข้าวของเครื่องใช้โบราณซึ่งทางกรมศิลปากรยืนยันว่าเป็นของโบราณตั้งแต่ยุคก่อนสมัยบ้านเชียง ให้นักท่องเที่ยวได้ชมอีกด้วย
 
ตลาดผ้านาข่า ถือเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะของผ้าพื้นเมืองอีสาน จนสามารถพูดได้เต็มปากว่า ผ้าไหมอีสานพื้นบ้านแท้ ต้องที่นี่ ตลาดผ้านาข่า อุดรธานี ของฝาก ของที่ระลึก จากผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขิดพื้นเมือง ถ้ามาไม่ถึงตลาดผ้านาข่า แสดงว่าท่านยังมาไม่ถึงเมืองอุดรธานี ติดต่อเรื่องข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ คุณอาคม สีหาบุตร ประธานกลุ่มหัตถกรรมผ้าพื้นบ้าน บ้านนาข่า จ.อุดรธานี โทร 081-2635734

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โครงสร้างของหน่วยงาน บ้านนาข่า

ภารกิจ : ผ้าหมี่ขิด วิถีชุมชน ตลาดผ้านาข่า ก้าวสู่อาเซียน 2558
โครงสร้างของหน่วยงาน : นายประยูร หาญประชุม นายก อบต.บ้านนาข่า, กลุ่มชุมชนทอผ้า แม่บ้านนาข่า, กลุ่มร้านค้าต่างๆจำหน่ายผ้าไหม รวมกว่า 103ร้าน, นายสำเริง ดวงนาผา (ฝ่ายประชาสัมพันธ์)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก : 1.จุดแข็ง การประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าถึงลูกค้าหรือบุคคลที่มาแวะซื้อสินค้าของตลาดผ้านาข่านี้ การประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานจึงมีประสิทธิภาพ 2.จุดอ่อน ในช่วงไม่จัดงานหรือกิจกรรมของทางตลาดผ้า ทำให้ร้านจำหน่ายต่างๆอยู่ซบเซา 3.โอกาส ในช่วงที่มีกลุ่มบุคคลหรือลูกค้าแวะเข้าตลาดผ้าเพื่อซื้อสินค้า นักประชาสัมพันธ์ควรใช้ทักษะการพูดในการเชิญชวนหรือชักจูงใจโน้มน้าวให้ลูกค้า กลับมาซื้อสินค้าเรื่อยๆไม่เฉพาะช่วงฤดูการเท่านั้นและมีการต้อนรับลูกค้าทุกคนเป็นอย่างดี 4.อุปสรรค จาสภาพแวดล้อมและการเดินทางสำหรับคนต่างจังหวัดอาจจะเป็นการเดินทางที่ไกล คืออาจจะไม่รู้จักเส้นทางทำให้เสียโอกาสในการจำหน่ายไปบ้าง
การวิเคราะห์กลยุทธ์และทางเลือกกลยุทธ์ : เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตลาดผ้า มีการประชาสัมพันธ์หรือต้อนรับลูกค้าโดยมีการเตรียมพร้อมตลอดเวลาของฝ่ายประชาสัมพันธ์ตลาดผ้านาข่า อีกทั้งเป็นการช่วยให้เศรษฐกิจไม่ซบเซา มีบุคคลมาซื้อสินค้าตลอดเวลาเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อพัฒนาแหล่งเศรษฐกิจธุรกิจการจัดจำหน่ายผ้าไหม-หมี่ขิด ของกลุ่มชุมชนนาข่า
2. ทำให้กลุ่มลูกค้าหรือบุคคลทั่วไป เกิดความประทับใจในสินค้าแล้วกลับมาซื้อซ้ำอีก
แผน : จัดกิจกรรมเดินแบบผ้าไหม-หมี่ขิด ก้าวสู่อาเซียน 2558 เพื่อสร้างภาพลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน
นโยบาย : กลุ่มชุมชนทอผ้าตลาดผ้าบ้านนาข่าต้องพร้อมทำแผนรองรับกลุ่มลูกค้าให้มีความประทับใจ ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นทั้งต่างจังหวัดหรือตัวจังหวัดเดียวกัน
การปฏิบัติตามกลยุทธ์ : เพื่อเป็นการเรียกลูกค้าเพิ่มให้มาซื้อสินค้าของทางกลุ่มชุมชนที่ทำขึ้น ผลตอบรับที่จะกลับมาทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในการต้อนรับ สินค้าและบริการของทางตลาดผ้าบ้านนาข่า จากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน

คณะฯ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ มาเยือนตลาดผ้านาข่า


วันที่ 23 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557

คณะฯ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) ได้มาเยือน ตลาดผ้านาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.




00.แม่ค้า แห่ง ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ตลาดผ้าบ้านนาข่า ถูกสร้างขึ้นด้วยความร่วมมือ ร่วมใจของ เทศบาลตำบลนาข่า สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุดรธานี สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุดรธานี และชาวบ้านตำบลนาข่า ที่ร่วมมือ ร่วมใจกัน ผลิตผ้าชั้นดี




01. ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ตลาดผ้าบ้านนาข่า เป็นการรวมกลุ่มทอผ้าซึ่งกลุ่มนี้ทอผ้าบ้านนาข่า เป็นกลุ่มที่ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลานานแล้ว จนมีการบริหารจัดการได้ในเชิงธุรกิจ จากกลุ่มใหญ่แยกมาเป็นกลุ่มย่อย ในส่วนของอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ญาติพี่น้องแล้วจะส่งมาจำหน่ายที่ร้านของประธาน โดยจะมีเครือข่ายในสิ่งทอตามหมู่บ้านในตำบลนาข่า และหมู่บ้านใกล้เคียงตลอดจนตำบลใกล้เคียง

หมู่บ้านนาข่าอยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๖กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวง หมายเลข ๒)หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่าเป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากผ้าขิตในราคาย่อมเยา ยังไงก็เพื่อนๆผามาก็อย่าลืมมาซื้อหาผ้าสวยๆกันได้ราคาย่อมเยามากๆคุณภาพระดับ OTOP 5 เลยทีเดียว..

ที่มา :http://moohin.in.th/trips/udonthani/nakhasilk_weavingvillage/




02.ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

บ้านนาข่า ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ทางทิศเหนือของจังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัด 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางอุดรธานี – หนองคาย

ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าหมี่ขิดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุดรธานี บ้านนาข่าได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ และหมู่บ้าน OTOP ท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี เนื่องจากมีกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ตามแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของบ้านนาข่าและยังได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยเหมาะกับโอกาสในการใช้งานต่าง ๆ อย่างดีด้วย

เมื่อเดินทางมาถึงจังหวัด “อุดรธานี” เมืองที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยอารยธรรมยาวนานกว่า 5,000 ปี ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายที่น่าศึกษาและเยี่ยมชมความงดงาม และหากจะกล่าวถึงของฝากหนึ่งในนั้นคงต้องมี “ผ้าหมี่ขิด” ที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของชาวจังหวัดอุดรธานี

ในปี 2534 – 2535 จังหวัดอุดรธานี ได้จัดทำโครงการทอผ้าหมี่ขิดยาวที่สุดในโลก โดยการร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มชาวบ้าน จำนวน 150 กลุ่ม ซึ่งผ้าผืนดังกล่าวมีความยาว 1199 เมตร ความกว้าง 60 เซนติเมตร วัตถุประสงค์ของการทอ เพื่อประชาสัมพันธ์คำขวัญของจังหวัดอุดรธานี “ธานีผ้าหมี่ขิด”

ที่มา: http://www.sadoodta.com/info/





03. คุณ ณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) ได้นำคณะกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. มาเยือน ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




04.คุณ ณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน)
@ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




05. คุณ.วิรุฬ พรรณเทวี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม ่และ คุณ.สุภาภรณ์ พรหมจรรย์ แห่ง บ.ดิ เซ็น ทริค จำกัด
@ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




06.คุณ.สุภาภรณ์ พรหมจรรย์ และ ...
@ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




07.คุณ.วิรุฬ พรรณเทวี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม
@ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี






08.คุณ.วิรุฬ พรรณเทวี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม ่และ คุณ.สุภาภรณ์ พรหมจรรย์ แห่ง บ.ดิ เซ็น ทริค จำกัด
@ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




09. คุณ.เอกสิทธิ์ อัตประชา แห่ง บจก.อีเอ็นซี ซิสเต็ม จำกัด
@ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




10.@ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

คุณ.วิรุฬ พรรณเทวี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม
คุณ.พรรชนี ลิ้มสุคนธ์ พาณิชย์จังหวัดลำปาง
คุณ.วิทยา ฉุยกลัด นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่




11. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





12. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





13. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




14. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





15. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





16. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





17.@ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





18. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





19. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





20. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




21. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




22. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





23. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





24. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





25. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





26. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





27. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





28. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี






29. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





30. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





31. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




32. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี





33. @ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี